วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2553

การสร้างบทเรียนการ์ตูน เรื่องจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) สร้างบทเรียนการ์ตูน เรื่องจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนการ์ตูน (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนการ์ตูน เรื่องจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนใน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนอนุบาลสตึก (ประชาอนุสรณ์) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4 จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) บทเรียนการ์ตูน เรื่องจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 คือ 83.56/87.40 (2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้เรียนร่วมกับบทเรียนการ์ตูน จำนวน 10 แผน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งผ่านการหาคุณภาพของข้อสอบและได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าสถิติ t (Dependent Samples t – test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทเรียนการ์ตูน เรื่องจังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ (80/80) คือได้ค่าประสิทธิภาพโดยรวม เท่ากับ 83.56/87.40
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังเรียนด้วยบทเรียนการ์ตูน เรื่องจังหวัดบุรีรัมย์
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนการ์ตูน เรื่อง จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัย บทเรียนการ์ตูนเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดและมองเห็นลักษณะ ทางสังคมได้อย่างชัดเจนเพราะมีความทันสมัยและสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบันหหหหนงงงงงง/4444 ผู้เรียน มีความสนุกสนานเพลิดเพลินในการเรียนรู้พร้อมทั้งมีนิสัยรักการอ่าน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสูงขึ้น